เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรัยนการสอน ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉาย
ฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุ
ทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และ
แสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น
สื่อประเภทเครื่องฉาย
สื่อประเภทเครื่องฉาย(Projected Media)
เครื่องฉายที่นำมาใช้สำหรับการเรียนการสอน ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนต์ เครื่องฉายแผ่นใส และเครื่องฉายภาพหรือวัสดุทึบแสง จุดประสงค์ที่สำคัญของการฉาย คือการแสดงให้เห็นการเคลื่อน และแสดงสิ่งที่มีขนาดเล็กให้เห็นเป็นขนาดใหญ่ขึ้น
ประเภทของเครื่องฉาย
เครื่องฉายมีอยู่หลายประเภทการแบ่งประเภทมีการแบ่งอยู่หลายลักษณะเช่น
1. แบ่งตามระบบการฉาย
1.1. ระบบการฉายตรง (Direct Projection)
เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ผ่านเลนซ์ฉาย ออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริฟ
1.1. ระบบการฉายตรง (Direct Projection)
เป็นระบบที่แสงจากหลอดฉายส่องตรงผ่าน เลนซ์รวมแสง ผ่านวัสดุฉาย ผ่านเลนซ์ฉาย ออกสู่จอ เช่น ระบบของเครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริฟ
<!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
<!--[endif]-->
1.2. ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) หรือเรียกว่า ระบบแสงส่องสะท้อนผ่านวัสดุฉาย
แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่เดียว แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส
แสงผ่านวัสดุฉายและส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอในลักษณะที่แสงไม่ได้ส่องตรงไปที่เดียว แต่จะมีการสะท้อนเปลี่ยนทิศทาง เช่น ระบบการฉายในเครื่องฉายแผ่นโปร่งใส
1.3. ระบบแสงส่องสะท้อน(Reflect Projection) หรือแสงส่องสะท้อนที่ไม่ผ่านวัสดุฉาย
ระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง
ระบบนี้ แสงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุฉาย แล้วสะท้อนผ่านส่วนประกอบอื่น ออกไปสู่จอโดยแสงไม่ผ่านวัสดุฉาย ทั้งนี้เพราะวัสดุที่จะใช้ฉายกับเครื่องประเภทนี้มีความทึบแสง
2. แบ่งตามลักษณะภาพที่ปรากฏบนจอ
2.1 เครื่องฉายภาพนิ่ง จะให้ภาพนิ่งปรากฏบนจอ ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพทึบแสง และเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (เครื่องฉายภาพโปร่งใส) เป็นต้น
2.2 เครื่องฉายภาพเคลื่อนไหว ภาพที่ปรากฏบนจอจะทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวเหมือนภาพที่เป็นจริง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มลู๊ป เครื่องฉายภาพดิจิตอล
3. แบ่งตามลักษณะของวัสดุฉาย
3.1 เครื่องฉายภาพโปร่งใส (Transparency Projector) ซึ่งวัสดุฉายจะเป็นวัสดุโปร่งใสหรือโปร่งแสง (Transparency Materials) เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายภาพยนตร์ และเครื่องฉายไมโครฟิล์ม เป็นต้น
3.2 เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projector) เป็นเครื่องฉายที่ฉายวัสดุทึบแสงซึ่งแสงจะไม่สามารถผ่านวัสดุฉายได้ แต่จะใช้หลักการสะท้อนของภาพแทน
3.3. เครื่องฉายภาพดิจิตอล(Digital Projector) เป็นเครื่องฉายที่ใช้วัสดุจัดเก็บข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าเหมือนกับวัดสุฉายที่เป็นลักษณะโปร่งแสงหรือทึบแสง
เครื่องฉายภาพดิจตอลของ BenQ
4. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน ซึ่งแต่ละประเภทจะใช้งานในลักษณะต่าง ๆ เช่น
4.1 เครื่องฉายสไลด์
4.2 เครื่องฉายฟิล์มสตริป
4.3 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
4.4 เครื่องฉายภาพทึบแสง
4.5 เครื่องฉายภาพดิจิตอล
5. แบ่งตามลักษณะเทคโนโลยีการผลิตเครื่องฉาย
5.1 เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีแบบพื้นฐาน กล่าวคือ เป็นเครื่องฉายใช้อุปกรณ์กลไกที่ไม่ซับซ้อน เป็นเครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีง่ายๆ และใช้กลไกเป็นหลักในการทำงานของเครื่องฉาย เช่น
5.1.1 เครื่องฉายสไลด์
5.1.2 เครื่องฉายฟิล์มสตริป
5.1.3 เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
5.1.4 เครื่องฉายภาพทึบแสง
5.2 เครื่องฉายที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ เช่นเครื่องฉายภาพดิจิตอล ซึ่งเครื่องฉายดิจิตอลโดยมีการพัฒนามานานพอสมควร โดยเริ่มจากเครื่องวีดิโอโปรเจ็คเตอร์ที่ใช้หลอดฉายประเภท CRT แล้วพัฒนามาเป็นยุค LCD ซึ่งในระยะแรก ๆ ยังมีคุณภาพที่ด้อยกว่าชนิดที่ใช้หลอดภาพ CRT จากนั้นได้มีความพยายามในการพัฒนาในหลาย ๆ เทคโนโลยี เช่น DLP, D-ILA และ LCOS เป็นต้น อย่างไรก็ตามเครื่องฉายได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่สามารถเรียกกันได้ว่าเป็นเครื่องฉายภาพดิจิตอล เนื่องจากให้คุณภาพของภาพที่คมชัดกว่าเครื่องฉายที่ใช้สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์แอนนาลอกทำให้คุณลักษณะของเครื่องฉายประเภทนี้มุ่งการพัฒนาไปสู่ดิจิตอลมากขึ้น จนแทบจะกล่าวได้ว่า เครื่องฉายประเภทที่ใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อนหรือเครื่องฉายประเภทที่ใช้อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องฉายที่ใช้ดิจิตอลหมดแล้ว
ส่วนประกอบของเครื่องฉาย
1 หลอดฉาย (Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการฉาย มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือหลอดชนิดที่เรียกว่า หลอดฮาโลเจน (Halogen) ซึ่งเป็นหลอดขนาดเล็ก กินไฟน้อย แต่ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดแบบเก่า ขนาดตามกำลังไฟฟ้าของหลอดฉาย มีตั้งแต่ 150 W จนถึง1,000 W ในเครื่องฉายสไลด์ มักใช้ขนาด 150 W 250 W และ 300 Wเครื่องฉายแผ่นใส อาจใช้ขนาด 250 W, 650 W
1 หลอดฉาย (Lamp) เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างสำหรับการฉาย มีอยู่หลายชนิด แต่ที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบันคือหลอดชนิดที่เรียกว่า หลอดฮาโลเจน (Halogen) ซึ่งเป็นหลอดขนาดเล็ก กินไฟน้อย แต่ให้แสงสว่างมากกว่าหลอดแบบเก่า ขนาดตามกำลังไฟฟ้าของหลอดฉาย มีตั้งแต่ 150 W จนถึง1,000 W ในเครื่องฉายสไลด์ มักใช้ขนาด 150 W 250 W และ 300 Wเครื่องฉายแผ่นใส อาจใช้ขนาด 250 W, 650 W
หลอดฉายในเครื่องฉายดิจิตอล ของ BenQ
ถ้าต้องการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับหลอดฉายต่าง ๆ ดูได้ที่ห้องสมุดนี้(http://www.donsbulbs.com)
2 แผ่นสะท้อนแสง (Reflector) มีลักษณะโค้งครึ่งวงกลมแบบก้นกะทะ ฉาบด้วยวัสดุสะท้อนแสง ทำหน้าที่สะท้อนแสงของหลอดฉายให้พุ่งออกเป็นลำแสงขนานไปในทิศทางเดียวกันหลอดฉายบางชนิดจะมีส่วนที่ทำหน้าที่สะท้อนแสงติดอยู่ด้วย
3 เลนซ์รวมแสง(Condenser Lens) เป็นชุดของเลนซ์นูน ทำหน้าที่รวมหรือบีบลำแสงให้มีความเข้มสูงไปผ่านที่วัสดุที่จะฉาย ในเครื่องฉายบางแบบ เช่น เครื่องฉายวัสดุทึบแสงไม่มีเลนซ์ชนิดนี้ เนื่องจากเครื่องฉายวัสดุทึบแสงใช้วิธีการฉายแบบสะท้อน
4 แผ่นกรองความร้อน (Heat Filter/Heat absorbing glass) ป้องกันความร้อนจากหลอดฉายไม่ให้ตกกระทบเลนซ์ และวัสดุฉายมากเกินไป
5 เลนซ์ฉายภาพ (Projection Lens) เป็นชุดของเลนซ์ที่มีคุณสมบัติเป็นเลนซ์นูน ทำหน้าที่บังคับแสงที่ผ่านมาจากวัสดุฉายให้ปรากฏที่จอ เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจน และมีขนาดเหมาะสมการปรับความคมชัดของภาพบนจอที่เรียกว่าปรับโฟกัสจะปรับที่เลนซ์ตัวนี้ บางครั้งจึงมีผู้เรียกเลนซ์นี้ว่า เลนซ์โฟกัส(Focusing Lens) ภาพที่ผ่านเลนซ์นี้ไปปรากฎบนจอจะเป็นภาพกลับดังนั้น เพื่อให้ฉายภาพได้เป็นภาพปกติการใส่วัสดุฉายจึงต้องกลับหัวลง
6 เลนซ์เกลี่ยแสง (Freshnel Lens) มีใช้ในเครื่องฉายวัสดุโปร่งใสเท่านั้น ทำหน้าที่คล้ายกับเลนซ์รวมแสง ช่วยรวมแสงร่วมกับเลนซ์รวมแสง และช่วยเกลี่ยแสงให้ผ่านแผ่นโปร่งแสงซึ่งมีขนาดใหญ่ได้สม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่น
7. พัดลม (Fan) ใช้สำหรับการระบายความร้อนออกจากเครื่องฉาย ถ้าพัดลมเกิดชำรุดอาจทำให้เครื่องฉายเสียหายได้ง่าย ในเครื่องฉายบางชนิด เช่น เครื่องฉายแผ่นโปร่งใสอาจมีส่วนควบคุมการทำงานของพัดลมอัตโนมัติ คือพัดลมจะทำานอัตโนมัติเมื่อเครื่องร้อน ถ้าเครื่องยังไม่ร้อน พัดลมจะหยุดการใช้เครื่องฉายบางชนิดหลังจากปิดฉายแล้วมีความจำเป็นต้องเสียบปลั๊กไว้ก่อน 2-5 นาที เพื่อให้พัดลมระบายความร้อน
องค์ประกอบของการฉาย
การฉายจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการคือมีจอฉาย เครื่องฉาย และวัสดุฉาย
การฉายจะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 3 ประการคือมีจอฉาย เครื่องฉาย และวัสดุฉาย
1. จอ(screen)
2. เครื่องฉาย
3. วัสดุฉาย ซึ่งมีทั้งวัสดุโปร่งแสงและวัสดุทึบแสง
วัสดุโปร่งแสง และวัสดุทึบแสง
สภาพของการฉายที่ดี
1. การควบคุมแสงสว่าง จะต้องควบคุมแสงสว่างได้อย่างต่อเนื่อง เช่นจากสว่างไปค่อย ๆ มืด หรือจากมืดไปค่อย ๆ สว่าง
2. ระบบเสียง ต้องชัดเจนทั่วทั้งห้องฉาย
3. ระบบระบายอากาศ ต้องระบายอากาศได้ดี
4. ความชัดเจนของภาพ ทุกจุด ไม่เกิดภาพผิดเพี้ยนหรือ keystone or distortion
เครื่องฉายสไลด์(Slide Projector)
ชนิดของเครื่องฉายสไลด์ แบบถาดแนวนอน แบบถาดแนวตั้ง
การใส่แผ่นสไลด์ลงถาดใส่สไลด์ ภาพต้องเป็นภาพหัวกลับ (ด้านที่อ่านได้)
การใช้เครื่องฉายสไลด์ การใช ้remote control แบบไร้สาย
การใช้เครื่องฉายสไลด์ (โดยเสาวลักษณ์)
ตัวอย่างปุ่มควบคุมเครื่องฉายสไลด์
เครื่องฉายฟิล์มสตริปเสียง
ลักษณะของฟิล์มสตริป มี 2 ชนิดคือ ชนิด single frame กับชนิด full frame (double frame)
ชนิด single frame จะมีลักษะที่มีภาพตั้งฉากกับแนวรูหนามเตย
ชนิด double frame จะมีลักษณะภาพเป็นแนวเดียวกับรูหนามเตย
ข้อสังเกตุ ฟิล์มสตริปจะถ่ายภาพเป็นแนวเดียวกันตลอด